ข้อแตกต่างระหว่างเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อการบำบัดทางการแพทย์ (medical compression) และ เสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อใส่ในการเล่นกีฬา (sports compression)
ข้อแตกต่างระหว่างเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อการบำบัดทางการแพทย์ (medical compression) และ เสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อใส่ในการเล่นกีฬา (sports compression)
เสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อใส่ในการเล่นกีฬา (sports compression) ผลิตขึ้นมาให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อการบำบัดทางการแพทย์ (medical compression) โดยสินค้าของ Compressport ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและการบวมของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายตัว ซึ่งเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อที่ผลิตขึ้นเพื่อการบำบัดทางการแพทย์ (medical compression) จะไม่ได้ออกแบบมาเช่นนี้
ควรเลือกขนาดเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อให้ถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร ?
Compressport ขอแนะนำให้เลือกขนาดเสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อตาม size guide เพื่อการสวมใส่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการวัดส่วนของร่างกายที่ต้องการให้รัดกล้ามเนื้อมากที่สุดและเทียบกับตารางไซส์ ในกรณีที่วัดแล้วได้ตัวเลขที่สูงสุดของไซส์ใด สามารถเลือกสวมใส่สินค้าไซส์ถัดขึ้นไปได้ (ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีที่วัดขนาดกล้ามเนื้อน่องได้ 37 ซม ผู้สวมใส่สามารถเลือกไซส์ T3 ได้ เนื่อจากกล้ามเนื้อจะมีการเพิ่มขนาดขึ้นในช่วงเวลาออกกำลังกาย)
เสื้อผ้ารัดกล้ามเนื้อ Compression จะช่วยนักกีฬาเมื่อไหร่ และอย่างไร ?
ก่อนการออกกำลังกาย – ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนเพื่อลดอาการบาดเจ็บ
ในช่วงการวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย การใส่สินค้า Compressport จะช่วยเร่งกระบวนการวอร์มกล้ามเนื้อและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ โดยการรัดเส้นเลือดฝอยจะช่วยเร่งให้เลือดไหลเวียนไปยังหัวใจให้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับการบีบหลอดยาสีฟัน ซึ่งจะช่วยในการไหลเวียนของเลือดโดยรวมและส่งผลให้ส่งออกซีเจนได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การสวมใส่สินค้า Compressport ที่ขาจะทำให้ลดการบวมของกล้ามเนื้อและทำให้รู้สึก “ขาเบา” ขึ้น
ระหว่างการออกกำลังกาย –ลดแรงกระแทกเพื่อลดการทำลายกล้ามเนื้อ
การสวมใส่สินค้า Compressport ขณะวิ่งจะช่วยให้ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนของมัดกล้ามเนื้อจากทุกจังหวะการลงเท้า ส่งผลให้
- ลดการทำลายกล้ามเนื้อ
- ทำให้กล้ามเนื้อล้าช้าลง
- ทำให้ออกกำลังกายเวลายาวได้ดีขึ้น
- ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อช้าลง
นอกจากนี้ การสวมใส่สินค้า Compressport ขณะวิ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอการเส้นเอ็นอักเสบ อาการเจ็บหน้าแข้งกับการวิ่งมาราธอน (Shin Splints) และอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บด้วยการทำให้หน่วยรับความรู้สึกใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อไวต่อความรู้สึกขึ้นในขณะเดียวกับการช่วยส่งเสริมท่าวิ่งที่ถูกต้อง
หลังการออกกำลังกาย – ลดอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ทำให้พักฟื้นเร็วขึ้น
การสวมใส่รัดน่อง Compressport ขณะการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการแข่งขันสามารถช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น จึงทำให้มีออกซีเจนเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้นและลดอาการบวม ส่งผลให้ลดการทำลายมัดกล้ามเนื้อรองและการอักเสบ ลดอาการการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย (DOMS: delayed onset muscle soreness) และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันครั้งต่อ ๆ ไป